ประกันตัว ประกันอิสระภาพ
การประกันอิสรภาพคืออะไร
การประกันอิสรภาพ เป็นการประกันภัยที่จัดทำขึ้นโดยมีแนวความคิดมาจากการที่ศาลยุติธรรมจะจัดระบบการประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย โดยเพิ่มทางเลือกให้ประชาชนสามารถใช้หนังสือรับรองความรับผิดชอบของบริษัทประกันภัยเป็นหลักประกันมาวางต่อศาลได้ จึงได้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆในการร่วมกันจัดให้มีกรมธรรมประกันภัยอิสรภาพขึ้นเพื่อประโยชน์ของประชาชนที่ไม่มีหลักทรัพย์ประกันหรือมีไม่เพียงพอ
เมือประชาชนซื้อประกันภัยอิสรภาพแล้ว บริษัทประกันภัยก็จะออกหนังสือรับรองให้เอาประกันไว้ หากผู้เอาประกันภัย หากผู้เอาประกันภัยกระทำผิดและตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยระหว่างระยะเวลาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยจะได้รับความสะดวกจากการที่สามารถใช้หนังสือรับรองนี้ยื่นต่อศาลเพื่อใช้ในการประกันตัว โดยไม่ต้องหาหลักทรัพย์หรือเงินประกันมาวางเป็นประกัน ซึ่งบริษัทประกันภัยจะคิดเบี้ยประกันภัยแบ่งตามชั้นศาลที่มีคำพิพากษาและฐานความผิดซึ่งทางศาลได้ปิดประกาศไว้ เพื่อให้ตรวจสอบ โดยมีอัตราเบี้ยประกันร้อยละ 5-20
เอกสารที่ใช้ในการยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว
5. เอกสารแสดงความเป็นญาติ
6. การมอบอำนาจ
1. เอกสารของผู้ต้องหาหรือจำเลย
1.1 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ต้องหาหรือจำเลย
1.1 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ต้องหาหรือจำเลย
1.2 หนังสือเดินทาง พร้อมสำเนา ๒ ฉบับ ในกรณีที่ผุ้ต้องหาหรือจำเลยเป็นชาวต่างชาติ หากต้นฉบับอยู่ที่พนักงานสอบสวน ให้พนักงานสอบสวนรับรองสำเนาเอกสารมาด้วย
2. เอกสารของผู้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว
2.1 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการ
2.2 สำเนาทะเบียนบ้าน
2.3 เอกสารแสดงการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล
3. เอกสารของคู่สมรสของผู้ประกัน (ในกรณีที่ผุ้ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวมีหรือเคยมีคู่สมรส
3.1 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการ
3.2 สำเนาทะเบียนบ้าน
3.3 เอกสารแสดงการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล
3.4 ใบสำคัญการสมรส
3.5 ใบหย่า ในกรณีที่หย่า
3.6 ใบมรณบัตรของคู่สมรส ในกรณีคู่สมรสตาย
4. ในกรณีที่ผู้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวเป็นนิติบุคคล
4.1 หนังสือรับรองนิติบุคคล ที่ออกให้ไม่เกิน 1 เดือน
4.2 วัตถุประสงค์ ที่แสดงว่ามีอำนาจทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาล
4.3 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจ
4.4 ตราประทับของนิติบุคคล
4.5 หนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ (ในกรณีมอบอำนาจ)
5. เอกสารแสดงความเป็นญาติ
ในกรณีที่ใช้ตำแหน่งหน้าที่เป็นประกัน จะต้องแสดงเอกสารที่แสดงความเป็นญาติระหว่างผู้ต้องหาหรือจำเลย กับผู้ที่ยื่นคำร้องของปล่อยตัวชั่วคราวและบัญชีเครือญาติ
6. การมอบอำนาจ
ในกรณีใช้หลักทรัพย์อย่างอื่น นอกจากการใช้ตำแหน่งมาเป็นหลักประกัน สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นมากระทำการแทนได้ หนังสือมอบอำนาจจะต้องให้นายอำเภอหรือผู้ทำการแทน เป็นพยาน ถ้าทำในต่างประเทศที่มีกงสุลไทย ให้กงสุลไทยเป็นพยาน ถ้าเป็นเมืองที่ไม่มีกงสุลไทย ต้องให้โนตารี่ปับลิคหรือแมยิสเตร็ดเป็นพยาน และต้องมีใบสำคัญของรัฐบาลต่างประเทศแสดงว่าบุคคลนั้นเป็นผู้มีอำนาจกระทำได้
ขั้นตอนการประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย
1. ขอแบบพิมพ์คำร้องขอประกันตัวได้จากเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของศาล
2. เขียนคำร้องขอประกันตัวได้เอง โดยขอคำแนะนำหรือดูตัวอย่างได้จากเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ หากผู้ขอประกันเขียนหนังสือไม่ได้ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์จะช่วยเขียนให้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
3. ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยลงชื่อในคำร้องขอประกันตัว หากผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่ได้ถูกขังอยู่ที่ศาล ไม่ต้องนำคำร้องไปให้จำเลยลงชื่อ
*** จะมีหมายเหตุที่ท้ายหมายปล่อย ระบุชื่อผู้ขอประกันไว้ และให้เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์สอบถามจำเลยว่าจะคัดค้านหรือไม่ หากคัดค้านให้งดการปล่อยและส่งหมายคืนศาล
4. นายประกันยื่นคำร้องขอประกันตัวพร้อมหลักฐานต่างๆ ที่เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
5. เมื่อเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ได้ตรวจคำร้องและหลักฐานเรียบร้อยแล้วจะลงบัญชีรับเรื่องไว้เป็นหลักฐาน แล้วนำเสนอคำร้องต่อผู้พิพากษาเพื่อพิจารณาสั่งคำร้อง เมื่อผู้พิพากษาสั่งคำร้องแล้ว จะส่งคำร้องขอประกันตัวกลับคืนไปที่เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
6. เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์จะแจ้งคำสั่งของศาลให้นายประกันทราบ หากศาลมีคำสั่งอนุญาต เจ้าหน้าที่จะเก็บหลักประกันและหรือรับเงินประกัน โดยเจ้าหน้าที่จะออกใบรับหลักฐานการขอประกันตัวและใบรับเงินให้ จากนั้นหากผู้ต้องหาหรือจำเลยถูกควบคุมตัวอยู่ที่ศาล และยังมิได้มีการออกหมายขัง จะนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยออกจากห้องควบคุมในศาลได้เลย แต่หากผู้ต้องหาหรือจำเลยอยู่ระหว่างถูกขังตามหมายศาล เจ้าหน้าที่จะนำหมายปล่อยไปปล่อย ณ.ที่ถูกคุมขัง โดยผู้ต้องหาหรือจำเลยจะถูกปล่อยตัวในวันที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว แต่หากศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว ผู้ขอประกันขอรับหลักฐานที่ยื่นไว้คืนได้จากเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
ทั้งนี้ การขอประกันตัวในระหว่างอุทธรณ์หรือฎีกา ใช้หลักเกณฑ์เช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้ว แต่ศาลอาจใช้ดุลพินิจเพิ่มหลักประกันจากศาลชั้นต้นได้
นายประกันมีหน้าอย่างไร
1. นายประกันมีหน้าที่ให้ชื่อและที่อยู่ตามจริงต่อศาล ซึ่งต้องเป็นที่อยู่ปัจจุบัน และสามารถติดต่อได้ทันที หากมีการย้ายที่อยู่ต้องแจ้งให้ศาลทราบโดยเร็ว
2. เมื่อศาลอนุญาตให้ประกัน ต้องเซ็นสัญญาประกันไว้เป็นหลักฐาน และต้องเซ็นทราบกำหนดวันเวลา ส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมายังศาลด้วย
3. ส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาล
ในชั้นฝากขัง นายประกันต้องนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ตนประกันให้ มาถึงศาลในวันที่ครบกำหนดการฝากขังแต่ละครั้ง
ในชั้นพิจารณาคดีของศาล เมื่อศาลนัดให้จำเลยไปศาลในวันใด ไม่ว่าจะเป็นการนัดสืบพยาน นัดฟังคำพิพากษา นัดไปสอบถาม หรือนัดเพื่อการอื่นใด นายประกันต้องนำผู้ต้องหาหรือจำเลยไปส่งศาลทุกครั้ง แต่หากนายประกันผิดนัด ไม่สามารถนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาศาลได้ ศาลอาจถอนประกันและปรับนายประกันตามสัญญาทันที ดังนั้นนายประกันจึงต้องติดตามอยู่เสมอว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยอยู่ที่ใดในระหว่างการประกันตัว